การดูแลสุขภาพเด็ก ๆ ในวัยเรียน

เด็ก ๆ ในวัยเรียนถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับพัฒนาการทางด้านร่างกาย และจิตใจเพราะฉะนั้นการดูแลสุขภาพน้อง ๆ ในวัยนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ วันนี้เรามีเทคนิคการดูแลสุขภาพน้อง ๆ ในวัยเรียน 5 ข้อ มาฝากกันค่ะ

  1. ทานอาหารเช้าเป็นประจำ – เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ เป็นการเติมพลังให้ร่างกาย และยังช่วยเพิ่มการเผาผลาญให้ดีขึ้นอีกด้วย
  2. หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด – โดยเฉพาะอาหาร และเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวานจัด เพราะเมื่อได้รับน้ำตาลเยอะเกินจะกลายเป็นไขมันสะสม และรสชาติเค็มจัด ทำให้ไตทำงานหนัก ความดันโลหิตสูง
  3. รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ – โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เพราะโปรตีนจะช่วยเข้าไปเสริมสร้าง ซ่อมแซมร่างกายให้สมบูรณ์ตามวัย
  4. ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ – ทำให้พัฒนาการทางด้านร่างกาย การเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อดีขึ้น ทั้งยังส่งเสริมให้สุขภาพจิตดีอีกด้วย
  5. ดื่มน้ำ และนมให้เพียงพอ – เนื่องจากการดื่มน้ำอย่างเพียงพอจะช่วยเรื่องระบบขับถ่ายของเด็ก ๆ ส่วนในนมมีคุณค่าทางโภชนาการ แคลเซียมสูง ช่วยให้กระดูก และฟันแข็งแรงนั่นเอง

ที่ขาดไม่ได้ คือการตรวจสุขภาพ และวางแผนสุขภาพให้เด็ก ๆ ที่จะช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่แข็งแรง ตั้งแต่เด็กจนโตเป็นผู้ใหญ่

สงสัยติดเชื้อโควิด-19 ต้องทำอย่างไร?

สาระน่ารู้กับภูมิคุ้มกันโควิด

สงสัยติดเชื้อโควิด-19 ต้องทำอย่างไร!? วันนี้ Health Hunter จะมาอัพเดทให้ฟัง

ซีซั่นนี้เราจะรอดไหม ติดหรือยัง หากคุณมีคำถามเหล่านี้อยู่ในหัว คอยสังเกตอาการตัวเอง พร้อมกับแนวปฏิบัติเหล่านี้หากคุณคือผู้ต้องสงสัย!

  1. เมื่อสงสัยว่าตนเองอาจติดเชื้อโควิด-19 ให้ตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจ ATK ก่อนด้วยตนเอง หรือหน่วยงานที่ให้บริการ เป็นอันดับแรก
  2. หากผล ATK เป็น ‘บวก’ ให้ติดต่อ สปสช. โทร 1330 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง จะมีเจ้าหน้าที่ให้บริการ ประเมินอาการของเรา
    • สำหรับผู้ที่มีอาการน้อย และไม่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคประจำตัวต่างๆ ให้ติดต่อเข้า Home isolation ได้ เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยติดต่อสอบถาม ดูแลอาการอย่างต่อเนื่อง
    • ผู้ที่มีอาการ และปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคประจำตัวต่างๆ ให้ติดต่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือ hospitels
  3. กรณีที่ผลตรวจ ATK เป็น ‘ลบ’
    • มีอาการ 😷
      • จะต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำเพื่อยืนยันผลตรวจอีกครั้ง
    • ไม่มีอาการ 😇
      • ให้พิจารณาว่ามีประวัติเสี่ยงหรือไม่
      • หากมีประวัติเสี่ยง ให้กักตัว และลองตรวจ ATK ซ้ำทุก 3 วัน
      • หากไม่มีประเสี่ยง ไม่ต้องกักตัว และปฏิบัติตามมาตรการต่างๆได้เลย เช่น สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือให้สะอาด และมีการตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าสถานที่ต่างๆ
      • จะต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำเพื่อยืนยันผลตรวจอีกครั้ง

ผู้ที่สงสัยติดเชื้อโควิด-19 ทั้งที่มีอาการหรือไม่ มีประวัติเสี่ยงหรือไม่มี สามารถเลือกเข้ารับการตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR เพื่อยืนยันผลได้ ผลที่ได้จะมีความแม่นยำมากกว่าการตรวจคัดกรองด้วย ATK

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก: กระทรวงสาธารณสุข

มะเร็งปากมดลูก ภัยร้ายใกล้ตัวที่คุณผู้หญิงควรระวัง!

เกิดขึ้นในเซลล์ปากมดลูก บริเวณช่วงล่างของมดลูกและเชื่อมต่อกับช่องคลอด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดฮิวแมนแปปปิโลมาไวรัส (Human Papillomavirus) หรือเอชพีวี (HPV)

โรคมะเร็งปากมดลูกมักจะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆในระยะแรกที่เป็น แต่เมื่อเริ่มเป็นหนักมากขึ้นร่างกายจะเริ่มแสดงอาการผิดปกติ เช่น ตกขาวผิดปกติ หรือมีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อมะเร็งปากมดลูก

  • การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
  • การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  • การได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆ เช่น โรคหนองในแท้, โรคซิฟิลิส และโรคเอชไอวี/ โรคเอดส์
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าคนทั่วไปโดยเฉพาะหากระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
  • การสูบบุหรี่

สาระน่ารู้กับภูมิคุ้มกันโควิด… ทำไมต้องตรวจวัดระดับภูมินะ?

เนื่องจากตอนนี้โควิดได้กลายพันธุ์ไปหลายชนิดแล้ว เราจึงไม่รู้เลยว่าตอนนี้ ร่างกายของเรามีภูมิเท่าไหร่ เพียงพอจะป้องกันความรุนแรงของโควิดแต่ละสายพันธุ์หรือไม่ การตรวจภูมิจึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญ

แล้วทำไมต้องตรวจวัดระดับภูมิ 🩺

การตรวจวัดระดับภูมิเป็นตัวบ่งบอกให้เราได้รู้ถึงแนวทางการป้องกันโรค เพื่อเป็นตัวช่วยวิเคราะห์ความสามารถในการยับยั้ง และความเสี่ยงในการติดเชื้อของโรคดังกล่าว หรือถ้าหากติดเชื้อไปแล้ว เรายังมีภูมิคุ้มกันอยู่ ภูมินี้จะสามารถช่วยบรรเทาอาการ และป้องกันความรุนแรงของโรคได้

โดยการมีระดับภูมิคุ้มกันที่สูง 🚀

จะช่วยยับยั้งการรุกรานของเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งหลังการติดเชื้อ หรือรับวัคซีนมาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง ระดับภูมิคุ้มกันของเราก็จะค่อยๆลดลงตามธรรมชาติ ซึ่งหมายความว่า ความสามารถในการยับยั้งโรคก็จะลดลงตามค่าภูมิที่ลดลงด้วย หากเรามีการตรวจเช็กวัดระดับ ก็จะสามารถวิเคราะห์ วางแผนการรับวัคซีนที่เหมาะสม ตามระยะเวลาที่เหมาะสมได้ พร้อมกับดูแล รักษาสุขภาพด้วยวิธีการธรรมชาติควบคู่กันไป เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

ปัจจัย และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ อายุเท่าไหร่ ก็ตรวจเช็กได้!

ปัจจัย และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ อายุเท่าไหร่ ก็ตรวจเช็กได้!

มะเร็งหนึ่งในโรคที่เป็นภัยเงียบ เกิดจากเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติในการเติบโต
กลายพันธุ์เป็นก้อนเนื้องอกชนิดร้ายแรง ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย และพฤติกรรมการใช้ชีวิตหลายประการที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้ ดังนี้

🧬 การสืบทอดทางพันธุกรรม

หากคุณมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงที่โรคมะเร็งจะถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ อย่างมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

🚭 การสูบบุหรี่

ด้วยสารเคมีในควันบุหรี่อย่าง นิโคติน หรือ คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นสารเคมีที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้โดยสารเคมีจะเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบการหายใจเป็นหลัก เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของมะเร็งปอด

🍻 การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์ที่เข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปขัดขวางกระบวนการซ่อมแซมและฟื้นฟูความเสียหายในร่างกาย ส่งผลให้เซลล์เริ่มเติบโตมากผิดปกติ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

🍔 มีน้ำหนักตัวมากเกิน หรือเป็นโรคอ้วน

น้ำหนักเกินและโรคอ้วนอาจส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และมีระดับอินซูลินสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นต้น

ใครที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เรามีอาหารที่ช่วยปรับสมดุลความดันมาฝากค่ะ

ใครที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องระวังในเรื่องของการทานอาหาร เพราะสามารถส่งผลต่ออาการของโรคได้ วันนี้เรามีอาหารที่ช่วยปรับสมดุลความดันมาฝากค่ะ

  1. กระเทียม – มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยไม่ให้คอเลสเตอรอลเกาะผนังหลอดเลือดแดง
  2. ถั่ว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ – อุดมด้วยแมกนีเซียม ช่วยเผาผลาญไขมัน
  3. ปลา (ลอกหนังออก) – เป็นแหล่งโปรตีนดี ไขมันต่ำ ช่วยให้หลอดเลือดหัวใจแข็งแรง
  4. งาขาว งาดำ – เป็นแหล่งโปรตีนดี ไม่มีไขมัน
  5. กล้วย – ช่วยปรับสมดุลโซเดียม และโพแทสเซียม ช่วยในการทำงานของไต
  6. ข้าวกล้อง – มีใยอาหารสูง
  7. แตงโม – ช่วยควบคุมการไหลเวียนของเลือด และควบคุมการขยายตัวของเส้นเลือด

ขอบคุณที่ไว้วางใจให้ Health Hunter ดูแลสุขภาพของคุณและคนที่คุณรัก

จากหลากหลายรีวิว

ผลตรวจออกมาไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจสักเท่าไหร่ แต่ถ้าไม่มาตรวจเลย เราก็ไม่รู้เลยว่าตอนนี้สภาพร่างกายภายในของเราเป็นยังไง

ผู้รับบริการตรวจสุขภาพกับ Health Hunter

ไม่เจ็บเลยค่ะ มือนิ่มมาก

คุณยาย อายุ 85 ปี เข้ารับบริการตรวจสุขภาพทั่วไป

เมื่อเช้าไปมาแล้ว บริการดีมากค่ะ

เข้ารับบริการโปรแกรมตรวจเตรียมความพร้อมก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

ขอบคุณลูกค้าที่ไว้วางใจให้ Health Hunter ดูแลสุขภาพของคุณและคนที่คุณรัก

ขอบคุณลูกค้าที่ไว้วางใจให้ Health Hunter ดูแลสุขภาพของคุณและคนที่คุณรัก

น้องพนักงานน่ารักมาก พูดจาไพเราะ เป็นกันเอง อบอุ่นค่ะ เจาะเลือดไม่เจ็บ เบามาก”

รีวิวจากผู้เข้ารับบริการโปรแกรมตรวจเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19